ยาง มาตรฐาน DOT

THAIDRIVER : ยางรถยนต์ที่ผลิตจากประเทศเพื่อนบ้านของไทย คนส่วนใหญ่มีความรู้สึกไม่ดี ทั้งที่อาจารย์เคยบอกว่าโรงงานเล็กๆ ก็มีโอกาสผลิตอะไรๆ คุณภาพดีๆ ได้

อ.ศิริบูรณ์ : ที่ผมบอกว่าโรงงานเล็กๆ ก็สามารถผลิตของคุณภาพดี ได้นั้น ผมหมายถึงกรณีที่เขาตั้งอกตั้งใจจะทําแต่ของดีจริงๆ จังๆ แต่ โรงงานเล็ก ๆ ที่ใช้วิธี “ยาวตัด สั้นต่อ ไม่พอซื้อใหม่” ก็มีอยู่เกลื่อนทุกประเทศ

          ถ้าเพิ่งเข้าตลาด เลือกเน้นวิธีสู้ด้วยราคาถูกไว้ก่อน คุณภาพแค่พอใช้ ได้ ไม่เคยจ้างวิศวกรเก่ง ๆ เงินเดือนแพงๆ ไม่เคยส่งลูกไปเรียน วิทยาศาสตร์ ปล่อยมันไปเรียนโฆษณา ผลิตโดยไม่ต้องใช้ความรู้ เน้น ต้นทุนต่ําอย่างเดียว ผลิตแล้วไม่เคยทดสอบ พวกนี้ก็ไม่อยู่ในข่ายที่ผม พูดถึง

 

THAIDRIVER : มียางยี่ห้อไหนบ้างที่มาจ้างโรงงาน VEE RUBBER ของคนไทยผลิตให้ ที่ถามเพื่อเป็นการสร้างความมั่นใจว่า คนไทยก็มีความสามารถผลิตยางให้ต่างชาติได้ จะได้หันมาใช้สินค้าไทยกันมากขึ้น

อ.ศิริบูรณ์ : ผมไม่ใช่ประชาสัมพันธ์ของ VEE RUBBER นะ ผมทําแต่ R&D ส่วนเรื่องการตลาดพอรู้นิดเดียว

          เป็นเรื่องน่าภูมิใจที่บริษัทยางยี่ห้อดังจากยุโรปมากหน้าหลายตา มาจ้างโรงงาน VEE RUBBER ผลิตยางให้ ส่วนเจ้าของยี่ห้อจะเอาไป ขายที่ประเทศไหนนั้นก็เรื่องของเขา แต่ที่ขอบยางจะระบุว่า MADE IN THAILAND ซึ่งก็ไม่ค่อยมีความหมายแล้วในปัจจุบัน เพราะเป็นที่ ยอมรับกันอย่างกว้างขวางว่า สินค้าจะผลิตมาจากไหนไม่สําคัญ เพราะการลงทุนและการผลิตข้ามชาติมันเป็นเรื่องปกติไปแล้ว

          แต่ในกรุงเทพฯ ก็มีร้านขายยาง HIGH END บางแห่ง ที่ขายแต่ ยางราคา 5,000 บาทขึ้นไป พูดให้ลูกค้าได้ยินอยู่เสมอว่า ยางจาก ประเทศเพื่อนบ้านข้างๆ เราเนี่ยไม่ได้เรื่อง ต้องยางจากประเทศ…ถึงจะ เจ๋ง แต่เจ้าของร้านยางบางคนก็พูดว่า ยางจะผลิตจากไหนก็เหมือนกัน เพราะไม่ว่าโรงงานจะตั้งอยู่ประเทศไหน ก็ใช้เทคโนโลยีเดียวกัน…เริ่มมองเห็นความจริง

          เพราะฉะนั้นจึงไม่ใช่เรื่องแปลก ที่ยาง MADE IN THAILAND จะ มีอยู่เกลื่อนโลก !

 

THAIDRIVER : ราคาสามารถบอกประสิทธิภาพของยางได้หรือไม่ ถ้า ยางนั้นไม่ถูกปั่นราคา

อ.ศิริบูรณ์ : ทุ่มโฆษณาไม่ยั้ง ตั้งราคาสูง อาจจะเข้าตากรรมการ ! ไม่ค่อยโฆษณา ตั้งราคาต่ํา ทั้งๆ ที่เป็นของดี อาจจะไม่มีคนซื้อ ! มันเกี่ยวกับคุณภาพตรงไหนล่ะ ?

          ถูกและดีไม่มีในโลก เพราะของดี ต้องออกมาจากงานที่ตั้งอกตั้งใจ ทํา ต้นทุนสูง ขายราคาถูกไม่ได้ ในทํานองกลับกัน ถ้าใช้หัวแม่เท้าคิด แทนสมอง ไม่ต้องไขว่คว้าหาซื้อความรู้ โอกาสที่จะออกมาดีก็น้อยมาก นอกจากพระเจ้าจะตาบอดหลงรักเป็นพิเศษ !

 

THAIDRIVER : ของดีไม่มีราคาถูก แต่ของแพงไม่จําเป็นต้องดีเสมอ ไป

อ.ศิริบูรณ์ : แน่นอนอยู่แล้ว ของบางอย่างหลับตาข้างหนึ่ง หรี่ตาอีก ข้างหนึ่งก็ผลิตได้ แต่ตั้งราคาสูงลิ่ว เพื่อแจ้งเกิดว่าเป็นของ HIGH END เพราะลูกค้ากระเป๋าใหญ่แต่สมองเล็ก มีอยู่เกลื่อน!

 

THAIDRIVER : ลูกสาวอาจารย์มาช่วยเรื่อง R&D บ้างหรือเปล่า 

อ.ศิริบูรณ์ : เขารับงานเป็น CHIEF OF RESEARCH ในงานต่างๆ ของเรา ผมไม่ต้องโดดเดี่ยวคิดคนเดียวอีกต่อไปแล้ว เมื่อก่อนไม่ต้องเลือกว่างานไหนเป็นของใคร เพราะทุกอย่างผมต้องทําคนเดียว ส่วน งาน DEVELOPMENT นั้น CHIEF ยังไม่กลับมาเมืองไทย ผมยัง รักษาการอยู่

 

THAIDRIVER : การทํา R&D ก็ต้องมีทั้งเงินออกและเงินเข้า ถ้าเงิน ออกอย่างเดียวคงแย่

อ.ศิริบูรณ์ : ใช่ ก็ต้องมีเข้ามาบ้าง ไม่งั้นอดข้าวตาย เราไม่ได้ทําให้ใคร ฟรีๆ ค่าวิชาของเราค่อนข้างแพง เพราะเราเรียนมาแพง และเรียนเพิ่ม เดิมทุกวัน ลูกค้างาน R&D ของเราเสียค่า เรียนลัด” ไม่ต้องไปเริ่มต้น เรียนเอง (จะเรียนรอดหรือเปล่าก็ไม่แน่) ประหยัดเวลานับเป็นสิบปี

 

THAIDRIVER : ก้าผลิตยางแล้วไม่คิดจะทําตลาดในสหรัฐอเมริกา จะ ต้องอ้างอิงมาตรฐาน DOT หรือไม่

อ.ศิริบูรณ์ : ไม่จําเป็น….DOT ไม่ใช่มาตรฐาน DOT เป็นการขึ้นทะเบียนกับ DEPARTMENT OF TRANSPORTATION ว่าเป็นยางที่อนุญาตให้ใช้บนถนนสาธารณะได้

          ยาง LAUNCH CONTROL ของผมไม่ได้ขอ DOT เพราะเป็น ยาง DRAG SLICK เอาไว้ใช้ในสนามแข่ง DRAG STRIP โดยเฉพาะ เท่านัน

 

THAIDRIVER : แต่ยางจากยุโรปหลายยี่ห้อที่ผลิตโดยอาศัยโรงงาน ของ VEE RUBBER ก็ได้รับมาตรฐาน DOT เพราะขายในอเมริกา ด้วย ผู้ซื้อก็น่าจะเชื่อในคุณภาพยางของอาจารย์ได้ เพราะผลิตจาก โรงงานเดียวกัน

อ.ศิริบูรณ์ : ก็แล้วแต่เจ้าของยางยี่ห้อนั้นว่า ต้องการจะมีคําว่า DOT ติดอยู่ทีแก้มยางหรือไม่

          ส่วนเรื่องที่ใครจะซื้อยางของผมหรือไม่นั้น ผมไม่สนใจ การจะขึ้น ทะเบียนกับ DOT ไม่ใช่เรื่องยากเย็น ใคร ๆ ก็ทําให้ผ่านได้ ! แก้แม่พิมพ์เพิ่มร่องแคบๆ ตื่นๆ เพียง 3 ร่อง ยาง DRAG SLICK ก็ขึ้นทะเบียน DOT ได้ !

          ถ้าไม่เชื่อว่าเรื่องอย่างนี้จะเกิดขึ้นในอเมริกา แวะมาดูตัวอย่างได้ ผมมีของจริงให้ดูกันเต็มตาที่เมืองไทยนี่เลย

 

THAIDRIVER : ส่วนผสมของยางมีหลายร้อยอย่าง เมื่อจะผลิตยาง 1 รุ่นก็ดึงมา 30-40 อย่าง เมื่อออกมาเป็นยางแล้ว คนซื้อจะรู้ได้ อย่างไรว่ามีส่วนผสมใดบ้าง เพราะท่าได้แค่หยิกๆ กดๆ หรืออย่างมากก็ขับทดสอบ

อ.ศิริบูรณ์ : ก็ทําได้แค่นั้น….สําหรับผู้ซื้อทั่วไป ก็ต้องทดลองใช้ ซึ่งไม่ใช่ วิธีของนักวิทยาศาสตร์ แต่เป็นวิธีของ END USER ทดสอบแล้วไม่ ต้องวิเคราะห์ว่าเพราะอะไรถึงเป็นแบบนั้น แค่ให้รู้ว่าพอใจกับยางชุดนั้นหรือเปล่า

 

THAIDRIVER : ที่ข้างแก้มยางมีตัวเลขที่ระบุเกี่ยวกับคอมปาวน์บ้างหรือไม่

อ.ศิริบูรณ์ : บอกเพียง TREAD WEAR เท่ากับเท่าไร A, B, C… หรือ ระบุเป็นตัวเลข 100, 150, 200… TEMPERATURE A, B, C… แล้ว ตัวหนังสือหรือตัวเลขที่ระบุนั้นหมายความว่าอะไร? TRACTION 100 เกาะถนนเท่ากับเท่าไร ? TRACTION 200 แปลว่าเกาะถนนมากกว่า TRACTION 100 เป็น 2 เท่าหรือเปล่า?

          ถ้าอยากรู้เรื่องนี้ ต้องศึกษาจากคู่มือการทดสอบยางของ ASTM-AMERICAN STANDARD OF TESTING METHODS ซึ่งเป็นสํานักงานผู้วางกระบวนวิธีในการทดสอบทุกเรื่อง แต่ไม่มีหน้าที่ให้ มาตรฐานกับใคร กําหนดขั้นตอนว่าถ้าอยากจะทดสอบ ควรจะทดสอบ ด้วยวิธีไหนบ้าง เพื่อให้ผลที่ออกมาเทียบเคียงจากยี่ห้อหนึ่งกับอีกยี่ห้อหนึ่งได้ (รู้ความแตกต่างระหว่างประมวลกฎหมายอาญา กับประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาหรือเปล่าล่ะ ?)

 

THAIDRIVER : ถ้าซื้อยางมาตัดแล้วส่งเข้าห้องแล็บเพื่อหาส่วนผสม ของยาง จะทําได้หรือไม่ แพงหรือเปล่า

อ.ศิริบูรณ์ : ได้ วิธีนี้เรียกว่า REVERSE ENGINEERING ผมไม่รู้ว่า แพงหรือเปล่า แต่เทคโนโลยีที่ทํานั้นมีอยู่แล้ว สามารถทําได้ในห้อง แล็บในเมืองไทย

          ผมเคยจะทําเมื่อประมาณ 15 ปีที่แล้ว ตอนนั้นผมไปดูงานการบริหาร ทีมแข่งที่สนาม ZOLDER ประเทศเบลเยี่ยม และสนาม JARAMA ประเทศสเปน มียาง 2 ยี่ห้อเป็นสปอนเซอร์ให้กับทีมต่างๆ ที่ผมไป สังเกต….เวลาออกจากโค้ง หน้ายางจะถูกไถออกไปม้วนเป็น “หนอน อยู่ทีไหล่ยาง

          เมื่อสุดทางตรงความเร็วสูง “หนอน” นั้นก็จะถูกเหวี่ยงหลุดออกมา เป็นแท่งเล็กๆ ขนาดประมาณเกี้ยมอี๋ ผมก็เก็บใส่ถุง ไม่ใช่ผมคนเดียว นะที่ทํา ยางคู่แข่งเขาก็ SPY ระหว่างกันเองด้วย

          คิดว่าจะเอาเศษยางที่เก็บได้มาทํา REVERSE ENGINEERING เพื่อหาส่วนผสมของยาง แต่หาคนทําไม่ได้ กระทั่งเมื่อประมาณ 7 ปีที่ แล้ว ผมถามลูกว่าสามารถทําได้ไหม เขาบอกว่าถ้าเล่าให้ฟังได้ว่าตอนแรกยางอยู่ในสภาพไหน ถูกใช้งานมาแบบไหน HEAT CYCLE เป็น อย่างไร จนกระทั่งหลุดออกมาเป็นชิ้น ก็สามารถทําได้ในห้องแล็บที่เมืองไทย

 

THAIDRIVER : แต่ก็ไม่จําเป็นต้องทํา REVERSE ENGINEERING ใช่ ไหม เพราะคิดส่วนผสมเองก็ได้

อ.ศิริบูรณ์ : ก็มีคนทําแบบนี้เยอะนะ จนกระทั่งเจ้าของยางต้องเก็บยาง รถแข่งที่ใช้แล้วไปเผาทําลายหลักฐาน กลัวว่าจะตกไปอยู่ในมือคู่แข่ง กลัวความลับจะรั่วไหล แต่ก็มีบางทีมที่แข่งเสร็จแล้วส่งยางกลับไปให้ เจ้าของยางไม่ครบ แจ้งว่ายางหาย แล้วก็เอามาขาย ผมยังเคยซื้อเก็บ ไว้เลย

          สมมุติบริษัทยางส่งมาให้ทีมแข่ง 100 เส้น แข่งเสร็จแล้วใช้ไป 70 เส้น เหลือยางใหม่เอี่ยม 30 เส้น แต่ใครจะรู้ว่าใช้ไป 70 เส้นจริงหรือเปล่า นอกจากเจ้าของทีม ถ้าเจ้าของทีมแจ้งกลับไปที่เจ้าของยางว่าใช้ ไป 95 เส้น ก็ส่งคืนแค่ 5 เส้น เจ้าของทีมก็เอายางใหม่ 25 เส้นที่เหลือไปขาย

          ยางที่ส่งให้ทีมแข่งใช้นั้น ไม่เหมือนกับยางที่ขายทั่วไป ถ้าผมไป ซื้อจากสํานักงานใหญ่ของยี่ห้อ ก็จะไม่ได้ยางรุ่นใหม่ที่เพิ่งออกมาเดือน ที่แล้ว เพราะหน้าตาอย่างผม เขาดูโหงวเฮ้งแล้วไม่มีแววชนะ แต่จะได้ ยางที่มีคอมปาวน์และโครงสร้างของ 2-3 ปีที่แล้ว เพราะถ้าขายยาง รุ่นใหม่ให้แล้วผมไม่ชนะ เจ้าของยางจะเสียชื่อเสียง ก็เลยเอายางรุ่น ใหม่เอี่ยมนั้นไปขายหรือให้กับทีมที่มีแววชนะ ที่เรียกว่า WINNING HORSE ดีกว่า

          ผมเคยเจรจาขอซื้อยางรถแข่ง ก็ถูกถามว่าเป็น WINNING HORSE หรือเปล่า ผมก็บอกตามตรงว่าไม่ใช่ ในใจน่ะโกรธ แต่ต้องพูดความ จริงตามสันดานของผม เพราะผมสู้กับทีมใหญ่ๆ ที่มีเงินมหาศาลไม่ได้ แต่ผมเจียดเงินที่จะซื้อยางดีๆ แบบที่ทีมชั้นหนึ่งเขาใช้กันได้ สุดท้าย เขาก็ไม่ขายให้ผม (ทําไมผมต้องผลิตยางแข่งเอง ?)

          บางครั้งการพูดอะไรตรงๆ ก็ไม่มีคนอยากฟัง ในปี 1973 คุณถาวร พรประภา ถามผมว่า รับประกันได้มั้ยว่ารถแข่ง 1 ใน 2 คันที่เราจะลง แข่งในรายการแรลลี่สิงคโปร์-กรุงเทพฯ จะชนะแน่ ผมตอบว่าไม่ สามารถรับประกันได้ แต่อีกคนที่มีชื่อเสียงในวงการแรลลี่พอสมควร รับปากว่าชนะแน่

          แต่สุดท้ายการแข่งนั้นก็ไม่เกิด เพราะการประชุมระหว่างกรรมการ ฝ่ายไทยและมาเลเซีย ไม่ประสบความสําเร็จ เพราะในสมัยนั้นการแข่ง ขันแรลลี่ของมาเลเซียก้าวหน้ามาก ภาษาที่ใช้เป็นภาษากฎหมาย ส่วน ของไทยยังแค่สมัครเล่น เมื่อมาถึงสมัยนี้จะเป็นอย่างไร ใครก้าวไป ไหน….ผมไม่รู้

 

THAIDRIVER : แสดงว่าสมัยก่อนอาจารย์ก็ไม่ได้อยู่กับการแข่งทางเรียบอย่างเดียว

อ.ศิริบูรณ์ : ใช่ แต่คงบอกไม่ได้ว่าผมมีความรู้หรือเก่งเรื่องแรลลี่ แต่ การแข่งอะไรก็ตามที่ต้องมีการเตรียม ผมก็พอจะเตรียมเป็น แต่ ประเด็นสําคัญที่ต้องใช้ในการแข่งแรลลี่มีอะไรบ้าง เกมเป็นประการใด ต้องมีข้อมูลแบบไหนบ้าง….ตอนนั้นผมไม่รู้ ตอนนี้ก็ยังไม่รู้ เพราะไม่เคย อยากรู้แต่คิดว่าตอนนั้นก็ยังไม่มีใครรู้เหมือนกัน ถ้าด้าน MANAGEMENT ผมพอทําได้

          การแข่งทุกประเภทสิ่งสําคัญ คือ การทําให้อยู่ในงบประมาณ แล้ว ก็มี PAPER WORK… ประชุม…จ่ายเงิน…เบิกเงิน…PAPER WORK…ประชุม…

          ถ้าบอกว่าในส่วนใดส่วนหนึ่งต้องใช้เงิน 5 ล้านบาท ก็ต้องบอกให้ ได้ว่า 5 ล้านบาทนั้นใช้ทําอะไรบ้าง แล้วแต่ละอย่างทําไมต้องใช้เท่านั้น REQUIRE A LOT OF IMAGINATION แล้วก็ต้องรู้ราคาตลาดด้วย